- คราสน่า จากไทย ลาว กัมพูชา และเวียตนาม
- ฟิลาเรีย จากอินโดนีเซีย
- มาลัคเซนซิส จาก มาเลเซีย , อินโดนีเซีย , ไทย และพม่าตอนใต้
- แบคคาเรียน่า จาก มาเลย์เซีย และ อินโดนีเซีย
- รูโกซ่า จาก พม่าตอนเหนือ , ลาวตอนเหนือ ไทยภาคเหนือ และเวียตนามเหนือ
- คาเซียน่า และ อากอลโลช่า จากอินเดีย
- ซิเนนซิส และ ยูนานเนนซิส จากจีน และอีกหลายๆสายพันธุ์
นอกจากนี้ยังมีไม้กฤษณาน้อยและกลุ่มไม้ Aetoxylon
เป็นจำนวนไม่น้อยเลยในตลาดไม้กฤษณาทั่วโลก
ในแต่ละสายพันธุ์ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของกลิ่นและราคา รวมถึงสีของเนื้อไม้ เช่นในสายพันธุ์ฟิลาเรียนั้น จะให้สีของเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อนเหมือนกับสีฝุ่น และมีชื่อในตลาดอาหรับว่า "Irian" ซึ่งมาจากแหล่งไม้ในอิเรียน จายา ในอินโดนีเซียนั่นเอง
ส่วนไม้จากประเทศไทยของเรา ลาว เวียตนาม และกัมพูชานั้น ส่วนมากจะเป็นสายพันธุ์คราสน่า ซึ่งมีสีออกน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีกลิ่นหอมหวาน
แต่ไม่ดำสนิทเหมือนกับไม้สายพันธุ์มาลัคเซนซิสจากภาคใต้และมาเลเซีย หรือสายพันธุ์ที่เป็นเครือญาติสนิทกับมาลัคเซนซิส อย่างพันธุ์ แบคคาเรียน่าหรือไมโครคาร์ปา เพราะสายพันธุ์นี้มีน้ำมันเป็นสีเขียวเข้ม ทำให้เนื้อไม้มีสีดำและมีกลิ่นหอมออกไปทางฉุน เผ็ด
สีที่เป็นเอกลักษณ์ของไม้กฤษณาแต่ละสายพันธุ์นี้จะสามารถสังเกตเห็นได้จากลายหรือแนวการสร้างน้ำมันในเนื้อไม้ ซึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างเนื้อไม้ปกติ ทำให้เราเห็นเนื้อไม้เป็นลักษณะลายเสี้ยนตามแนวของรอยสิ่วแกะไม้
สำหรับผู้ที่ไม่รู้เรื่องการสร้างน้ำมันและสีของแต่ละสายพันธุ์ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น อาจต้องเสียเงินซื้อหาเอาไม้กฤษณาปลอมปนไปในราคาที่สูง ดังเช่นที่ปรากฏให้ได้เห็นอยู่ทั่วไปในตลาดไม้กฤษณาที่ตะวันออกกลาง ซึ่งนอกจากจะเสียเงินซื้อไม้ปลอมไปในราคาแพงแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้างแรงในระบบทางเดินหายใจอย่างโรคมะเร็งปอด หรือไซนัสอักเสบเรื้อรังอีกด้วย
สำหรับผู้ที่ไม่รู้เรื่องการสร้างน้ำมันและสีของแต่ละสายพันธุ์ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น อาจต้องเสียเงินซื้อหาเอาไม้กฤษณาปลอมปนไปในราคาที่สูง ดังเช่นที่ปรากฏให้ได้เห็นอยู่ทั่วไปในตลาดไม้กฤษณาที่ตะวันออกกลาง ซึ่งนอกจากจะเสียเงินซื้อไม้ปลอมไปในราคาแพงแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้างแรงในระบบทางเดินหายใจอย่างโรคมะเร็งปอด หรือไซนัสอักเสบเรื้อรังอีกด้วย
ต่อไปนี้คือลักษณะการปลอมไม้กฤษณาในแบบต่างๆ
1. ไม้ติดกาว
เนื่องจากมีผู้ซื้อหลายรายที่ให้ความสำคัญกับเรื่องขนาดของชิ้นไม้ ทำให้ผู้ผลิตหรือพรานไม้หลายราย ใช้กาวร้อนหรือที่เราเรียกว่ากาวตราช้าง มาติดชิ้นไม้ที่แตกเพื่อให้คงขนาดเอาไว้เพื่อให้ขายได้ราคา ผลที่ได้รับคือ ผู้ใช้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรงที่นัยน์ตาและจมูก โดยกลิ่นนั้นฉุนแสบและรุนแรงมาก ทำให้น้ำตาไหลไปหลายนาทีซึ่งผู้เขียนเองก็เคยมีประสบการณ์นี้มาแล้ว
2. ไม้ย้อมสีหรือทาสี
โดยปกติแล้ว ไม้กฤษณาเกรดดีๆนั้นจะมีสีเข้มจากความเข้มข้นของผลึกน้ำมันที่ต้นไม้ผลิตออกมา โดยจะมีลักษณะเป็นเสี้ยนน้ำมันให้เห็นตามแนวของสิ่วแกะไม้ และจะมีความถ่วงหรือน้ำหนักไม้ที่มากขึ้นตามความเข้มของสีไม้ด้วย การดูไม้ย้อมสีนี้ ให้ดูแนวน้ำมันซึ่งจะไม่เป็นแนวเสี้ยน แต่จะดูเป็นผืนตามแนวของการระบาย อีกทั้งน้ำหนักของไม้ก็ไม่มากนักแม้ว่าไม้จะดูหนาและดำมากก็ตาม ที่สำคัญสีที่ใช้ย้อมหรือทาไม้นั้น นิยมใช้สีดำสนิท ทั้งๆที่ไม้พันธุ์คราสน่าในบ้านเรานั้นมีสีออกน้ำตาลแดง โดยสีที่ใช้นั้น ส่วนมากมักทำมาจากยางมะตอยผสมกับน้ำมันหรือทินเนอร์ แล้วตากให้แห้งเพื่อไล่ทินเนอร์
3. ไม้ชุบน้ำมัน
ไม้ชุบน้ำมันนี้เป็นที่นิยมทำกันมากในมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะช่วยเพิ่มน้ำหนักของไม้และทำให้ดูสีเข้มขึ้น แต่ไม้ลักษณะนี้จะสังเกตไม่ยาก โดยอาศัยการสัมผัส คือเมื่อได้จับไม้ แล้วให้ลองถูนิ้วมือดู หากรู้สึกมันแล้วให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าชุบน้ำมันมา อีกวิธีคือการลองเผา เพราะไม้ชุบหรือทาน้ำมันนั้นจะติดไฟได้ง่ายมากและมีควันสีขาวฟุ้งโขมงเต็มไปหมด ซึ่งไม้กฤษณาปกติไม่ได้มีควันเช่นนั้นและมีควันเป็นสีขาวแกมฟ้า
4. ไม้ถ่วงน้ำหนัก
ไม้ประเภทนี้มีทั้งถ่วงโดยการยัดตะกั่วหรือดินน้ำมันข้างในโพรงเนื้อไม้ หรือบางครั้งก็เป็นไม้ขาวที่มีผิวน้ำมันภายนอก การดูไม้ถ่วงนี้ใช้การเขย่าดูเมื่อสงสัยว่า สีไม้อ่อนแต่กลับมีน้ำหนักถ่วงมือ เพราะหากมีการถ่วงแล้ว โดยมากจะได้ยิงเสียงแปลกปลอม ขณะที่ไม้ปกติจะไม่มีเสียงเมื่อเขย่า
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้ซื้อส่วนใหญ่จึงเกิดความระแวงระวัง ทำให้การซื้อขายไม้กฤษณาในทุกวันนี้เป็นไปอย่างติดขัด ทั้งเรื่องการเลือกไม้และราคา ส่งผลให้ผู้ผลิตและผู้ปลูกไม้กฤษณาต่างก็มีปัญหาในเรื่องของความน่าเชื่อถือ และสภาวะการตัดสินใจในการลงทุน
แม้ปัญหาของเรื่องการปลอมแปลงไม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะมีผู้ซื้อหรือจับไม้กฤษณามาขายต่อบางรายที่ยังไม่ทราบถึงกลวิธีเหล่านี้ทำให้สูญเสียเงินและลูกค้าไป เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น